การสร้างแพลตฟอร์มและเครือข่ายรองรับการค้า CBEC โลจิสติกส์ด่วน และห่วงโซ่เย็น รองรับห่วงโซ่คุณค่าข้ามแดน ไทย-ลาว-จีน อำเภอเชียงของ

"Building platform for Cross Border E-Commerce Logistic express and Cold chain to support Cross border value chain between Thai-Laos-China, Chiang Khong district."

education online books
ผลการดำเนินงาน

ภาพรวมการยกระดับการส่งออกนำเข้าชายแดน ไปสู่การค้าผ่านช่องทาง CBEC เป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยสนับสนุนการค้าชายแดนสู่รูปแบบการเป็น Fulfillment Center ในศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่งเชียงของ เพื่อทำหน้าที่เป็นคลังสินค้าสำหรับสินค้าไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดประเทศจีน หรือสำหรับสินค้าจีนที่ต้องการจำหน่ายบนแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย อ่านเพิ่มเติม

นอกจากนี้ "ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งเชียงของ" มีโอกาสยกระดับสู่การเป็น “เขตปลอดภาษีครบวงจร CBEC” โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนระหว่างจีน-อาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นตัวแทนผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม และโลจิสติกส์ด่วน รวมถึงศูนย์แสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้ารองรับระบบ O2O ย่อ

ภาพรวมการส่งออกสินค้าประจำปี 2566 ใน 5 อันดับแรกของด่านศุลกากรเชียงของ ได้แก่ ผลไม้สด น้ำมันเครื่อง/เบนซิน/ดีเซล เครื่องอุปโภคบริโภค วัสดุก่อสร้าง และดอกไม้แห้ง/ดอกกล้วยไม้ เป็นต้น
(อ้างอิง ศุลกากรเชียงของ,2566)

การส่งออก ณ ด่านศุลกากรเชียงของไปยังประเทศปลายทาง มีดังนี้
1.สาธารณรัฐประชาชนจีน
2.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
3.สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
จากสถิติของด่านศุลกากรเชียงของ ปี 2566 พบว่าช่วงเดือน เมษายนเป็นช่วงที่มีการส่งออกมากที่สุด

ผลการวิเคราะห์กระบวนการไหล

การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย “การสร้างแพลตฟอร์มและเครือข่ายรองรับการค้า CBEC โลจิสติกส์ด่วน และห่วงโซ่เย็น รองรับห่วงโซ่คุณค่าข้ามแดน ไทย-ลาว-จีน อำเภอเชียงของ”

โดยใช้วิธีการวิจัยด้วยเครื่องมือกรอบกระบวนการธุรกิจตัวแบบอ้างอิง SCOR Model เพื่อให้ทราบปัจจัยควบคุมสำหรับกระบวนการห่วงโซ่เย็น และข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนการขนส่ง โดยการลงสำรวจและเก็บข้อมูลพื้นที่กรณีศึกษา การส่งออกลำไยสด จากเกษตรกรสวนลำไยในจังหวัดเชียงใหม่ โรงคัดบรรจุหรือล้ง และบริษัทขนส่ง

Warehouse Management System (WMS) หรือระบบบริหารคลังสินค้า

แนวคิดการจัดการคลังสินค้าให้เป็นจุดรวบรวมสินค้า และเป็นพื้นที่คลังสินค้าสำหรับลูกค้าที่มียอดคำสั่งซื้อต่อเนื่องหรือมีโปรโมชันการตลาดในแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้สามารถกระจายสินค้า บรรจุสินค้า และส่งให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อ่านเพิ่มเติม

โดยมีรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะของ ศูนย์รวมสินค้าที่ทำหน้าที่ในการรับสินค้าจากธุรกิจที่ใช้บริการเข้ามาจัดเก็บไว้ในลักษณะของสินค้าคงคลัง (Inventory) เพื่อนำมาดูแลและจัดการงานทั้งการรับคำสั่งซื้อ แพ็คสินค้า และการจัดส่งสินค้าอย่างครบวงจรของระบบบริหารคลังสินค้า โดยใช้ในการทำกิจกรรมภายในคลังสินค้าให้เป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง รวดเร็ว และการบันทึกรายละเอียดโดยการใช้ Barcode เพื่อบริหารจัดการข้อมูลผ่าระบบสารสนเทศภายในคลังสินค้า ย่อ

กระบวนการนำสินค้าไปเก็บในคลังสินค้า มีขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้

กิจกรรมคลังกระจายสินค้าเขตปลอดอากร (Free Zone) มีดังนี้

การส่งออกมะพร้าวน้ำหอมจากไทย-จีน
สรุปการทดลองส่งมะพร้าว

จากการทดลองครั้งนี้ทางนักวิจัยได้ทดลองส่งมะพร้าวจากสวนจังหวัดราชบุรีไปยังปลายทางประเทศจีน จำนวน 360 ลูก กล่องละ 9 ลูก จำนวน 40 กล่อง (เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567)


สื่อวิดีทัศน์








หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


Contact

053-920299 ,063-5250248